เมนู

ก็การที่นาคเหล่านั้น ทำความปรารถนาเพื่อให้มีอายุยืน
มีผิวพรรณสวยงาม และมากไปด้วยสุขเอาไว้ แล้วให้ทานทั้ง 10 อย่างนี้
จึงบังเกิดในภพนาคนั้น ก็เพื่อเสวยสมบัตินั้นแล.
บทที่เหลือในทุกสูตร ก็มีความหมายง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถานาคสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ


1. สุทธกสูตร 2. ปฌีตตรสูตร 3. อุโปสถสูตรที่ 1 4.
อุโปสถสูตรที่ 2 5. อุโปสถสูตรที่ 3 6. อุโปสถสูตรที่ 4 7.
สุตสูตรที่ 1 8. สุตสูตรที่ 2 9. สุตสูตรที่ 3 10. สุตสูตรที่ 4
11-20. ทานูปการสูตรที่ 1 21-40. ทานูปการสูตรที่ 2-4
(รวม 50 สูตร)

9. สุปัณณสังยุต



1. สุทธกสูตร



[531] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ 4 จำพวกนี้
4 จำพวกเป็นไฉน ? คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ 1 ครุฑที่เป็นชลาพุชะ 1
ครุฑที่เป็นสังเสทชะ 1 ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กำเนิดของครุฑ 4 จำพวกนี้แล.
จบ สุทธกสูตรที่ 1

9. อรรถกถาสุปัณณสังยุต



อรรถกถาสุทธกสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในสุปัณณสังยุต ดังต่อไปนี้ :-
ครุฑทั้งหลายเรียกว่า สุบรรณ เพราะปีกมีสีสวย. สูตรที่ 1
แม้ในสุปัณณสังยุตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในเพราะเป็นเหตุเกิด
ของเรื่องตามนัยแรกนั่นเอง.
จบ อรรถกถาสุทธกสูตรที่ 1

2. หรติสูตร


[532] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ 4
จำพวกนี้ 4 จำพวกเป็นไฉน ? คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ 1 ครุฑที่เป็น
ชลาพุชะ 1 ครุฑที่เป็นสังเสทชะ 1 ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ 1 ในครุฑ
ทั้ง 4 จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้